ต่อมลูกหมากโต แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

ต่อมลูกหมากเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะสืบพันธุ์ รูปร่างคล้ายลูกเกาลัดหุ้มรอบท่อปัสสาวะส่วนต้น ปรกติจะมีขนาดประมาณ 15-20 กรัม หน้าที่ที่สำคัญของต่อมลูกหมาก คือ การสร้างน้ำอสุจิ โดยทั่วไปต่อมลูกหมากจะหยุดเจริญเติบโตหลังจากอายุ 20 ปี จนกระทั่งอายุประมาณ 45 ปี จะมีการเพิ่มขนาดขึ้นอีกครั้ง และเป็นจุดเริ่มต้นของโรคต่อมลูกหมากโต

โรคต่อมลูกหมากโต จะพบได้บ่อยขึ้นเรื่อย ๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น ยิ่งถ้ามีชีวิตยืนยาวถึง 80-90 ปี ผู้ชายทุกคนในวัยนี้จะมีต่อมลูกหมากโตกันทั้งหมด แต่ไม่ใช่ผู้ป่วยต่อมลูกหมากโตทุกคนจะมีอาการ บางคนมีอาการน้อยมาก เช่น ความแรงของปัสสาวะลดลงบ้าง แต่ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ในขณะที่บางคนอาจอาการหนักถึงขั้นปัสสาวะไม่ออกได้ สำหรับอาการของโรคต่อมลูกหมากโตที่สำคัญมีอยู่ 7 อย่างคือ

  1. ถ่ายปัสสาวะบ่อย
  2. ปัสสาวะไหลไม่แรง
  3. เวลาปวดปัสสาวะต้องรีบเข้าห้องน้ำรอไม่ได้
  4. ถ่ายปัสสาวะเสร็จแล้วรู้สึกไม่สุด
  5. ปัสสาวะไหล ๆ หยุด ๆ
  6. ต้องเบ่งช่วยเวลาถ่ายปัสสาวะ
  7. ถ่ายปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน

โรคต่อมลูกหมากโตอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้แก่ ปัสสาวะไม่ออกเลย ทางเดินปัสสาวะอักเสบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ไตเสื่อมหรือกระเพาะปัสสาวะเสื่อม ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นต้น ซึ่งอาจพบได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของผู้ป่วยต่อมลูกหมากทั้งหมด

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต

  1. การซักประวัติ บ่อยครั้งแพทย์ให้ผู้ป่วยทำแบบสอบถาม (IPSS) เพื่อประเมินความรุนแรงของความผิดปรกติของการถ่ายปัสสาวะ
  2. การตรวจทวารหนักเพื่อคลำต่อมลูกหมาก เนื่องจากต่อมลูกหมากอยู่ภายในร่างกาย ดังนั้น การใช้นิ้วคลำจะเป็นวิธีการตรวจร่างกายที่ง่ายที่สุดในการประเมินถึงลักษณะทางภายกายภาพของต่อมลูกหมาก และที่สำคัญยังสามารถบอกได้ถึงความผิดปรกติที่สงสัยมะเร็งต่อมลูกหมากด้วย
  3. การตรวจปัสสาวะเป็นขั้นตอนที่สำคัญ และจำเป็นต้องทำในผู้ป่วยทุกราย เพื่อดูว่ามีการอักเสบติดเชื้อ มีเม็ดเลือดผิดปรกติหรือไม่ และยังเป็นการบอกถึงความผิดปรกติของร่างกายในระบบอื่นได้
  4. การตรวจเลือดเพื่อหาค่า PSA (prostatic specific antigen) จะตรวจต่อเมื่อผู้ป่วยมีสุขภาพโดยรวมแข็งแรง และน่าจะมีชีวิตยืนยาวมากกว่า 10 ปีขึ้นไป เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากระยะแรก มีแนวโน้มจะโตและลุกลามช้า
  5. การตรวจอัลตราซาวน์ ส่วนมากมักใช้เมื่อมีความผิดปรกติในการตรวจปัสสาวะ แต่ปัจจุบันเป็นที่นิยมส่งตรวจกันมากขึ้น เนื่องจากปลอดภัยและให้ประโยชน์สูง
  6. การตรวจความแรงในการไหลของปัสสาวะ (Uroflowmetry) มักจะร่วมกับการตรวจปัสสาวะที่เหลือค้างหลังจากปัสสาวะหมดแล้ว มีประโยชน์ในการประเมินความรุนแรงและติดตามการรักษา
  7. การตรวจอื่น ๆ เช่น การส่องกล้อง การตรวจยูโรพลศาสตร์จะทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน

แนวทางการรักษาโรคต่อมลูกหมากโต

สำหรับโรคต่อมลูกหมากโตนั้น ส่วนมากมักจะมีต่อคุณภาพชีวิตมากกว่าจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม ดังนั้น การรักษาจะมุ่งเน้นที่จะให้อาการขับถ่ายปัสสาวะของผู้ป่วยดีขึ้น และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจากต่อมลูกหมากโต โดยทั่วไป สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการน้อยและไม่มีผลต่อคุณภาพชีวิต อาจยังไม่ต้องรักษาเพียงแต่เฝ้าติดตามไปก่อนได้ สำหรับการรักษาในปัจจุบัน ได้แก่

1. ยาและอาหารที่มีประโยชน์: ปัจจุบันมียาและอาหารที่มีประโยชน์หลายอย่างที่ใช้รักษาอาการต่อมลูกหมากโต

ยาในกลุ่มอัลฟา-บล็อกเกอร์ (Alpha adrenergic blockers) ซึ่งสมัยก่อนจะใช้เป็นยาลดความดัน แต่ปัจจุบันได้พัฒนาต่อจนมีผลต่อความดันโลหิตน้อยมาก ยาในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์เร็ว ผู้ป่วยจะรู้สึกปัสสาวะสะดวกขึ้นภายใน 3 วัน แต่ถ้าหยุดยาและอาการก็จะกลับมาอย่างรวดเร็ว ยาในกลุ่มนี้จะใช้กันแพร่หลายที่สุด

Prostinal เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ 100% ที่สามารถฟื้นฟูสุขภาพ ให้กับต่อมลูกหมากได้ สามารถใช้เพื่อรักษาที่บ้านได้ ไม่ทำให้เกิดผลข้างเคียง

  • ช่วยป้องกันการทำให้เกิดโรคกามตายด้านและน้ำจากต่อมลูกหมากลดลง
  • ช่วยเพิ่มการทำงานของต่อมลูกหมากทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง
  • ช่วยในการกระตุ้นการไหลเวียนโลหิตไปยังส่วนต่างๆในร่างกายได้อย่างดี
  • ช่วยเสริมสร้างฮอร์โมนเพศชายเทสโทสเตอโรน ช่วยในการสร้างสเปิร์มและเพิ่มปริมาณน้ำเชื้อ

PROSHERB ช่วยดูแลและฟื้นฟูการทำงานของต่อมลูกหมากอักเสบ เป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติสำหรับการป้องกันต่อมลูกหมากอักเสบเฉียบพลันและอาการเรื้อรังของต่อมลูกหมาก

  • บรรเทาอาการอักเสบ
  • ช่วยให้การปัสสาวะและการแข็งตัวเป็นปกติ
  • ให้ผลลัพธ์ได้เมื่อใช้งานอย่างต่อเนื่อง
  • ใช้ได้กับคุณผู้ชายที่มีปัญหาต่อมลูกหมากโดยเฉพาะ

ยาที่ยับยั้งการสร้างฮอร์โมน (DHT) (Dihydrotestosterone) ยาในกลุ่มนี้จะลดการสร้างฮอร์โมน DHT ซึ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของต่อมลูกหมาก แม้ว่าจะออกฤทธิ์ช้า แต่สามารถลดขนาดของต่อมลูกหมากได้ในระดับหนึ่ง จะมีประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยที่มีต่อมลูกหมากค่อนข้างโต
ยาสมุนไพร มีอยู่หลายชนิด สำหรับชนิดที่แพร่หลายที่สุด คือ จากสมุนไพรชื่อ Saw palmetto แต่ประสิทธิภาพยังไม่ชัดเจนนัก

enlarged prostate

2. การรักษาโดยการผ่าตัด ส่วนมากจะเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง หรือที่รู้จักในชื่อ TURP ซึ่งยังคงเป็นมาตรฐานการผ่าตัด ในขณะนี้การรักษาโดยการผ่าตัดจะใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโตและมีภาวะแทรกซ้อน หรือการทานยาไม่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ อย่างไรก็ตามมีการผ่าตัดวิธีการอื่นที่สามารถลดภาวะแทรกซ้อนหรือลดระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลได้ เช่น การใช้เลเซอร์ช่วยในการผ่าตัด การใช้ขดลวดตาข่ายขยาย ต่อมลูกหมาก เป็นต้น